วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การนำลูกกลับมาตั้ง// การเล่นลูกในมือ

  การนำลูกกลับมาตั้ง
ลูกที่จะต้องถูกนำกลับมาตั้ง จะนำมาตั้งลงบน “เส้นแบ่งข้างของโต๊ะ (Long String)” โดยให้อยู่ใกล้ “จุดสปอต (Foot Spot)”มากที่สุดเหลื่อมไปทางชิ่งบน โดยต้องไม่ทำให้มีลูกอื่นลูกใดบนโต๊ะขยับ หากลูกไม่สามารถตั้งบน “Foot Spot” ได้ ให้นำลูกไปวางในตำแหน่งที่กล่าวมาแล้ว โดยอาจสัมผัสกับลูกอื่นได้ แต่ต้องไม่ทำให้เคลื่อนไหว และต้องไม่สัมผัสกับ “ลูกคิวบอล” หาก “ลูกคิวบอล”อยู่ในพื้นที่ที่กีดขวางตำแหน่งของลูกที่ตั้งอยู่ หากไม่มีตำแหน่งว่างให้ตั้งเหลื่อมมาทางชื่งบนได้ ให้นำลูกไปตั้งในทิศทางตรงข้ามของจุด“Foot Spot” โดยให้อยู่ในแนวเส้นตรงใกล้กับจุด “Foot spot” ให้มากที่สุด
   การเล่นลูกในมือ
เมื่อผู้เล่นได้เล่น “ลูกจากในมือ (Ball in hand)” ผู้เล่นสามารถวาง “ลูกคิวบอล” ลงบนตำแหน่งใดบนโต๊ะก็ได้ (ดูกติกา ข้อ 8.1 ส่วนต่างๆ ของโต๊ะ) และยังคงสามารถขยับตำแหน่งใหม่ได้จนกว่าจะมีการแทงออกไป (ดูกติกา ข้อ 8.2 การแทง) ผู้เล่นอาจใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดของไม้คิวในการขยับตำแหน่งของ “ลูกคิวบอล” ได้ ้กระทั่งหัวคิว แต่ไม่ใช่ในลักษณะการดันออกไปข้างหน้าด้วยหัวคิว ในการแทงเปิดของเกมบางเกม ตำแหน่งของ “ลูกคิวบอล” จะถูกกำหนดให้อยู่ในพื้นที่หลัง “เส้นเมือง (Head String)” โดยขึ้นอยู่กับกติกาของเกมนั้นๆ และให้นำกฏ ข้อ 6.10 การวางลูกคิวบอลผิดตำแหน่ง และ ข้อ 6.11 การแทงลูกผิดกติกาจากบริเวณในเมือง มาใช้ด้วยเมื่อผู้เล่นได้เล่น “ลูกในมือ” หลัง “เส้นในเมือง” และ “ลูกเป้า” ทั้งหมดวางอยู่หลัง “เส้นเมือง” ผู้เล่นสามารถขอให้ “ผู้ตัดสิน” นำ“ลูกเป้า” ที่อยู่ใกล้ “เส้นเมือง” มากที่สุดมาตั้งใหม่ที่จุดได้ หากมีมากกว่า 1 ลูกที่มีระยะห่างจาก “เส้นเมือง” เท่าๆ กัน ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะให้นำลูกใดไปตั้ง “ลูกเป้า” ที่อยู่บน “เส้นเมือง” พอดี ถือเป็นลูกที่สามารถเล่นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น